กล่องข้อความ: 		7-50100-001-158  		  ชื่อพื้นเมือง	:  พุดจีบ  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Tabernaemontana divaricata (L.) R. Br. ex Roem. et Schult. cv. Flore Pleno  ชื่อวงศ์	:  APOCYNACEAE  ชื่อสามัญ	:  Crape  Jasmine  ประโยชน์	:  เปลือก ต้น ราก มีอัลคารอยด์ เป็นยาเย็นลดไข้ น้ำจากต้นขับพยาธิ

บริเวณที่พบ : อาคารอุตสาหกรรม
ลักษณะพิเศษของพืช : ดอกมีกลิ่นหอม
ลักษณะทั่วไป :  ไม้พุ่มขนาดกลาง   แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแต่มีการทิ้งใบส่วนของต้นด้านล่าง ทำให้พุ่มโปร่ง ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว
ต้น : ลำต้นเหนือดินตั้งตรงได้เอง ผิวลำต้นหยาบขรุขระ มีน้ำยางขุ่นสีขาว
ใบ : ใบเดี่ยว  เรียงตรงข้าม  ใบรูปใบหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ
ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่า
ดอก :  สีขาว  กลิ่นหอมเวลากลางคืน  ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง  ช่อละ2-3 ดอก  โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน
เป็นหลอดยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร  ปลายแยกเป็น 5-10 แฉก   และเป็นคลื่นหมุนเวียนซ้อนกัน เกสรตัวผู้ 5 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-5 เซนติเมตร
ผล : ผลแห้ง เป็นฝักคู่ติดกัน ทรงสามเหลี่ยมขอบฝักเป็นสันนูน ฝักโค้งยาว 2.5-5 เซนติเมตร ปลายแหลม เนื้อผลสีแดง
เมื่อแก่แตกเป็นแนวเดียว มี 3-6 เมล็ด
ประโยชน์ : ข้อมูลจากเอกสาร เป็นยาลดไข้ ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย ร้อยมาลัยถวายพระ ใบนำมาตำกับน้ำตาลชงกินแก้ไอ เนื้อไม้ลดพิษไข
้ น้ำคั้นจากดอกผสมน้ำมันใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง น้ำจากต้นขับพยาธิ รากเคี้ยวแก้ปวดฟัน เป็นยาระงับปวด ยาบำรุง

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ใบ
ดอก

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้   พุดจีบ     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-158